คำบุพบท คืออะไร ความหมายตัวอย่างคำบุพบท

คำบุพบท คือ คำที่ใช้เขียนหรือพูดหน้าคำนามหรือคำสรรพนาม เพื่อบอกตำแหน่งเวลา สิ่งที่คาดหวัง ความเป็นเจ้าของ สาเหตุ ผู้รับประโยชน์ เป็นต้น คำบุพบท แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ

  1. คำบุพบทไม่เชื่อมกับบทอื่น คือคำบุพบทที่อยู่หน้าคำหรือกลุ่มคำนามและสรรพนาม เพื่อแสดงการทักทายหรือเป็นคำร้องเรียกเพื่อเกริ่นให้ผู้ฟังรู้สึกตัว
  2. คำบุพบทเชื่อมกับบทอื่น คือ คำบุพบทที่อยู่หน้าคำหรือกลุ่มคำนาม สรรพนาม คำวิเศษณ์และกริยาบางคำเพื่อบอกความสำพันธ์ระหว่างคำที่อยู่หลังบุพบทกับข้อความข้างหน้า

แม่บอกตั้งแต่ตอนกลางคืนว่า  วันเกิด  ใส่บาตรเสียหน่อย  จะได้เป็นมงคลแก่ชีวิต

ฉันมองหน้าแม่ด้วยความแปลกใจ

ฉันรู้สึกได้ถึงความสงบเงียบและเยือกเย็นที่ยังแผ่ซ่านอยู่ภายใน

วันนี้เป็นวันเกิดของฉัน

คำว่า  ตั้งแต่  แก่  ด้วย  ถึง  ของ  ในประโยคข้างต้นนี้  คือคำ  บุพบท  คำบุพบทคือ  คำที่อยู่หน้าคำนามหรือคำสรรพนามและรวมกับคำนามและคำสรรพนามที่ตามมากลายเป็นบุพบทวลี  มักทำหน้าที่ขยายข้อความหรือบอกรายละเอียดเพิ่มเติมให้แก่คำที่อยู่ข้างหน้านั้น

ตัวอย่าง คำบุพบท

แม่บอกตั้งแต่ตอนกลางคืน

ตั้งแต่  เป็นคำบุพบทนำหน้าคำนาม  ตอนกลางคืน  เพื่อขยายความของคำกริยา  บอกให้ทราบว่า  บอกเมื่อไร

ใส่บาตรเสียหน่อยจะได้เป็นมงคลแก่ชีวิต

แก่  เป็นคำบุพบทนำหน้าคำนาม  ชีวิต  เพื่อขยายความกริยาวลีเป็น  มงคล  ให้ทราบว่า  มงคล  นั้นเกี่ยวกับอะไร

ฉันมองหน้าแม่ด้วยความแปลกใจ

ด้วย  เป็นคำบุพบทนำหน้าคำนาม  ความแปลกใจ  เพื่อขยายความคำกริยา  มอง  เพื่อให้ทราบว่ามองด้วยอาการใด

คำเชื่อม

ในประโยคตัวอย่างต่อไปนี้คำที่พิมพ์ตัวดำคือคำเชื่อม  เช่น

บ้านของเราอยู่ในซอยลึก  ดังนั้น  ยามเช้าจึงสงบ

พอเข้ามาในครัว  แม่ก็เรียกให้ฉันไปหุงข้าว  ข้อนี้ฉันทำได้สบายมากเพราะเป็นงานประจำของฉัน  แค่ซาวข้าว  ใส่น้ำแล้วก็ตั้งในหม้อเสียบปลั๊กแล้วกดปุ่ม

คำว่า  ดังนั้น…..จึง,  พอ….ก็,…….เพราะ……แล้วก็,……แล้ว  ในประโยคข้างต้น  คือคำเชื่อม  คำเชื่อมมีหลายชนิด  ที่จะกล่าวถึงในที่นี้คือ  คำเชื่อมที่ตามด้วยกริยาวลีหรือประโยคย่อย  คำเชื่อมแต่ละคำใช้เชื่อมบอกความสัมพันธ์ของกริยาวลีหรือประโยคที่เชื่อมแตกต่างกัน  ดังตัวอย่าง

บ้านของเราอยู่ในซอยลึก  ดังนั้น  ยามเช้าจึงสงบ

ดังนั้น…..จึง…เป็นคำเชื่อมใช้เชื่อมประโยคที่ตามมา  คือ  ยามเช้าสงบ  เพื่อบอกผล  ส่วนบ้านของเราอยู่ในซอยลึก  เป็นประโยคบอกเหตุ

แค่ซาวข้าว  ใส่น้ำแล้วก็ตั้งในหม้อ

แล้วก็  เป็นคำเชื่อมประโยค  ๓  ประโยค  คือ  แค่ซาวข้าว  ประโยคหนึ่ง  ใส่น้ำ  ประโยคหนึ่ง  ตั้งในหม้อ  อีกประโยคหนึ่ง  เพื่อบอกลำดับเหตุการณ์  ๓  เหตุการณ์ที่เกิดตามลำดับ  แค่ซาวข้าว  เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อน  ใส่น้ำ  เป็นเหตุการณ์ที่เกิดในลำดับต่อมา  ตั้งในหม้อ  เป็นเหตุการณ์ที่เกิดลำดับสุดท้าย

By admin

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *