คำสมาส คือ การนำคำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤตมารวมกับคำบาลีสันสกฤตแล้วเกิดความหมายใหม่ แต่ยังคงเค้าความหมายเดิม ลักษณะสำคัญนอกจากจะเป็นคำที่เกิดจาก คำบาลีและสันสกฤตรวมกันแล้ว ต้องแปลจากข้างหลังไปข้างหน้า ไม่ปรากฎ วิสรรชนีย์หรือสระอะ เครื่องหมายทัณฑฆาต กลางคำ บางคำอ่านต่อเนื่องคำหน้าและคำหลัง บางคำไม่อ่านต่อเนื่อง บางคำอ่านต่อเนื่องและไม่ต่อเนื่องก็ได้ มีลักษณะดังนี้
๑.เป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากบาลี และสันสกฤตเท่านั้น เช่น สุขศึกษา
อักษรศาสตร์ สังคมศาสตร์ อุดมศึกษา
๒.อ่านออกเสียงสระระหว่างคำที่สมาสกัน เช่น
รัฐ + ศาสตร์ = รัฐศาสตร์ อ่าน รัด – ถะ – สาด
ภูมิ + ทัศน์ = ภูมิทัศน์ อ่าน พูม – มิ – ทัด
พืช + มงคล = พืชมงคล อ่าน พืด – ชะ – มง – คน
๓.แปลจากหลังมาหน้า เช่น
ราชโอรส หมายถึง ลูกชายพระราชา
กาฬพักตร์ หมายถึง หน้าดำ
วรรณคดี หมายถึง เรื่องราวของหนังสือ
๔.พยางค์สุดท้ายของคำหน้าที่มีเครื่องหมายทัณฑฆาต ( )เมื่อนำมาสมาสให้ตัดทิ้งแล้วอ่านออกเสียง “อะ”กึ่งเสียง เช่น
สิทธิ์ + บัตร เป็น สิทธิบัตร
ไปรษณีย์ + บัตร เป็น ไปรษณียบัตร
สวัสดิ์ + ภาพ เป็น สวัสดิภาพ
สัตว์ + ศาสตร์ เป็น สัตวศาสตร์
๕.คำว่า “พระ” (แผลงมาจาก “วร”) นำหน้าคำที่มาจากบาลีสันสกฤต เช่น
พระสงฆ์ พระเนตร พระบาท พระราชวงศ์
หลักสังเกต คำสมาส ในภาษาไทย
1. เกิดจากคำมูลตั้งแต่สองคำขึ้นไป
2. เป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเท่านั้น เช่น กาฬพักตร์ ภูมิศาสตร์ ราชธรรม บุตรทาน อักษรศาสตร์ อรรถคดี ฯลฯ
3. พยางค์สุดท้ายของคำหน้า หากมีสระ อะ หรือมีตัวการันต์อยู่ ให้ยุบตัวนั้นออก (ยกเว้นคำบางคำ เช่น กิจจะลักษณะ เป็นต้น)
4. แปลความจากหลังมาหน้า เช่น ราชบุตร แปลว่า บุตรของพระราชา, เทวบัญชา แปลว่า คำสั่งของเทวดา, ราชการ แปลว่า งานของพระเจ้าแผ่นดิน
5. ส่วนมากออกเสียงพยางค์ท้ายของคำหน้า แม้จะไม่มีรูปสระกำกับอยู่ โดยจะใช้เสียง อะ อิ และ อุ (เช่น เทพบุตร) แต่บางคำก็ไม่ออกเสียง (เช่น สมัยนิยม สมุทรปราการ)
6. คำบาลีสันสกฤตที่มีคำว่า พระ ซึ่งกลายเสียงมาจากบาลีสันสกฤต ก็ถือว่าเป็นคำสมาส (เช่น พระกร พระจันทร์)
7. ส่วนใหญ่จะลงท้ายว่า ศาสตร์ กรรม ภาพ ภัย ศึกษา ศิลป์ วิทยา (เช่น ศึกษาศาสตร์ ทุกขภาพ จิตวิทยา)
8. อ่านออกเสียงระหว่างคำ เช่น
ประวัติศาสตร์ อ่านว่า ประ – หวัด – ติ – ศาสตร์
นิจศีล อ่านว่า นิจ – จะ – สีน
ไทยธรรม อ่านว่า ไทย – ยะ – ทำ
อุทกศาสตร์ อ่านว่า อุ – ทก – กะ – สาด
อรรถรส อ่านว่า อัด – ถะ – รด
จุลสาร อ่านว่า จุน – ละ – สาน
9. คำที่มีคำเหล่านี้อยู่ด้วย มักจะเป็นคำสมาส คือ การ กร กรรม คดี ธรรม บดี ภัย ภัณฑ์ ภาพ ลักษณ์ วิทยา ศาสตร์
ข้อสังเกต
1. ไม่ใช่คำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤตทั้งหมด เช่น
เทพเจ้า (เจ้า เป็นคำไทย)
พระโทรน (ไม้ เป็นคำไทย)
พระโทรน (โทรน เป็นคำอังกฤษ)
บายศรี (บาย เป็นคำเขมร)
2.คำที่ไม่สามารถแปลความจากหลังมาหน้าได้ไม่ใช่คำสมาส เช่น
ประวัติวรรณคดี แปลว่า ประวัติของวรรณคดี
นายกสมาคม แปลว่า นายกของสมาคม
วิพากษ์วิจารณ์ แปลว่า การวิพากษ์และการวิจารณ์
3. คำสมาสบางคำไม่ออกเสียงสระตรงพยางค์ของคำหน้า เช่น
ปรากฏ อ่านว่า ปรา – กด – กาน
สุภาพบุรุษ อ่านว่า สุ – พาบ – บุ – หรุด
สุพรรณบุรี อ่านว่า สุ – พรรณ – บุ – รี
สามัญศึกษา อ่านว่า สา – มัน – สึก – สา
คำสมาสแบบสมาส คือ การนำคำบาลีสันสกฤต มาชนกัน เช่น วิทยา+ศาสตร์ , จินต+ภาพ
คำสมาสแบบสนธื คือ คือ การนำคำบาลีสันสกฤต มาเชื่อมกัน คำที่ได้จะมีเสียงกลมกลืนกัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เช่น ธน + อาคาร = ธนาคาร , เมษ+อายน = เมษายน