Category: ภาษาไทย

คำสมาส คืออะไร ตัวอย่างพร้อมความหมาย

คำสมาส คือ การนำคำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤตมารวมกับคำบาลีสันสกฤตแล้วเกิดความหมายใหม่ แต่ยังคงเค้าความหมายเดิม ลักษณะสำคัญนอกจากจะเป็นคำที่เกิดจาก คำบาลีและสันสกฤตรวมกันแล้ว ต้องแปลจากข้างหลังไปข้างหน้า ไม่ปรากฎ วิสรรชนีย์หรือสระอะ เครื่องหมายทัณฑฆาต กลางคำ บางคำอ่านต่อเนื่องคำหน้าและคำหลัง บางคำไม่อ่านต่อเนื่อง บางคำอ่านต่อเนื่องและไม่ต่อเนื่องก็ได้ มีลักษณะดังนี้๑.เป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากบาลี และสันสกฤตเท่านั้น เช่น สุขศึกษาอักษรศาสตร์ สังคมศาสตร์ อุดมศึกษา๒.อ่านออกเสียงสระระหว่างคำที่สมาสกัน เช่นรัฐ + ศาสตร์ = รัฐศาสตร์ อ่าน รัด – ถะ –…

คำภาษามอญที่ภาษาไทยยืมมาใช้

คำไทยที่มาจากภาษามอญนำมาใช้ในภาษาไทยในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้ ๑. ใช้เป็นคำธรรมดาในเรื่องต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันทั่วไป ๒. ใช้เป็นคำซ้อน คำประสม และคำขยายในภาษาไทย ๓. ใช้ในราชาศัพท์ สำนวน และในวรรณกรรมไทย ตัวอย่างคำมอญ ๑. ใช้เป็นคำธรรมดาในเรื่องต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันทั่วไป สามารถแบ่งหมวดหมู่ได้ดังนี้ ๑.๑ ภูมิประเทศ เช่น เกาะ คลอง ด่วน ด่าน วัง หาด…

กลอนหก ตัวอย่างกลอน 6

กลอนหก เป็นหนึ่งในกลอนสุภาพ ซึ่งมีวิธีเรียกชื่อต่างกันตามจำนวนคำในวรรค เช่น กลอน 6 กลอน 7 กลอน 8 อธิบายผังโครงสร้าง๑) แสดงผังโครงสร้างกลอนหก ความยาว ๒ บท๒) กลอน ๑ บท มี ๒ คำกลอน หรือ ๔ วรรค๓) กลอน ๑ บาท มี ๖ คำ๔)…

คำยืมภาษาญี่ปุ่น

คำยืมภาษาญี่ปุ่นที่มีใช้ในภาษาไทยจะมีไม่มาก ส่วนมากเป็นชื่ออาหาร ชื่อกีฬา เช่น ตัวอย่างคำยืมภาษาญี่ปุ่น ชื่ออาหาร เช่น สุกี้ยากี้ ซาบะ วาซาบิ โมจิ ยากิโซบะ ซูซิ เท็มปุระ อูด้ง ชื่อกีฬา เช่น ยูโด คาราเต้ ซูโม่ คำอื่น ๆ เช่น กิโมโน สึนามิ คาราโอเกะ ซาโยนาระ ซามูไร ฮาราคีรี

คำคม คืออะไร หลักการเขียนคำคม

คำคม หมายถึง ถ้อยคำที่หลักแหลมชวนให้คิด หรือถ้อยคำ ข้อความ ที่มีความหมายอยู่ในตัว ด้วยการกล่าวซ้ำคำบางคำในข้อความนั้นๆ ให้มีความหมาย เกี่ยวพันกับเนื้อหาความเดิม คำคมที่ดีต้องแสดงถึงการใช้ความคิดหรือแสดง ให้เกิดความรู้สึกอย่างใดอย่างหนึ่ง อย่างชัดเจน เพื่อให้ผู้อ่านเกิดความลึกซึ้งเมื่อได้อ่าน จุดมุ่งหมายในการเขียนคำคม เมื่อพิจารณาจากความหมายของคำคมดังกล่าวข้างต้น พอสรุปถึงจุดมุ่งหมายในการเขียนคำคมได้ว่า เพื่อต้องการให้ผู้อ่านได้แง่คิดในเรื่องต่าง ๆ ที่เขียนขึ้น ซึ่งอาจเป็นข้อเตือนจิตสะกิดใจ ในการประพฤติปฏิบัติตนในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งจะต้องเป็นเรื่องสร้างสรรค์ ลักษณะของคำคม คำคม มีหลายลักษณะดังนี้ 1. คำคมที่เป็นคำพูดธรรมดาไม่มีสัมผัส โดยมากใช้คำง่าย ๆ ไม่ต้องแปล…

บทร้อยแก้วคืออะไร การอ่านออกเสียงบทร้อยแก้ว เรื่องสั้น ตัวอย่าง นิทาน

บทร้อยแก้วคือ บทข้อความทั่วๆ ไป ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน โดยต้องเขียนเป็นประโยค ข้อความติดต่อกัน ตามปกติ มีประธาน กริยา กรรม เรียงร้อยข้อความไปตามเจตนาของผู้พูดหรือผู้เขียน ไม่มีสัมผัสเหมือนบทร้อยกรอง ซึ่งถ้าเป็นบทร้อยกรอง จะต้องมีสัมผัสเช่น โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน การอ่านออกเสียงบทร้อยแก้ว การอ่านหนังสือโดยการที่ผู้อ่านเปล่งเสียงออกมาดังๆ ในขณะที่อ่าน โดยมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน เช่น เพื่อถ่ายทอดความรู้ เพื่อสร้างความบันเทิง ซึ่งการออกเสียงในแต่ละครั้ง อาจมีจุดมุ่งหมายหลายๆ ประการรวมกัน หรือมีจุดมุ่งหมายเฉพาะ เช่น…

การเขียนเรียงความ คืออะไร หลักการเขียนตัวอย่างเรียงความ

การเขียนเรียงความ คืออะไร วันนี้เรามีวิธีเขียน หลักการเขียน รวมทั้งตัวอย่างการเขียนเรียงความที่ถูกต้อง หากเป็นประโยชน์อย่าลืมแชร์ให้เพื่อนๆ ด้วยนะครับ การเขียนเรียงความคือ เรียงความ คือ การนำเอาความรู้ความคิดเห็น ตลอดจนความจำเรื่องราวต่าง ๆ มาปรับปรุงเรียบเรียงขึ้นเป็นเรื่องราวโดยใช้ศิลปะในการเรียบเรียง รู้จักเลือกสรรถ้อยคำใช้ให้ถูกต้องเหมาะสม รู้จักผูกประโยคให้เป็นข้อความที่กระชับรัดกุม สละสลวย มีน้ำหนักและสามารถลำดับความได้ชัดเจน อ่านเข้าใจง่าย น่าอ่าน ที่มา : ชำนาญ นิศารัตน์และคณะ ( 2536 : 56 ) องค์ประกอบการเขียนเรียงความ…