มาตราตัวสะกด ความหมายคืออะไร

 

มาตราตัวสะกด คือ แม่บทการแจกลูก ที่ใช้ในการสะกดภาษาไทย แบ่งออกเป็น ๙ มาตราตัวสะกดในภาษาไทยมีทั้งหมด ๙ มาตรา คือ แม่ ก กา แม่ กก แม่ กง แม่ กด แม่ กน แม่ กบ แม่ กม แม่ เกย และแม่ เกอว ใน ๙ มาตรา จะมีอยู่ ๔ มาตรา ที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา ซึ่งได้แก่ แม่ กก แม่ กด แม่ กน และแม่ กบ

มาตราตัวสะกด

แม่ กด  คือ พยางค์ที่ออกเสียงเหมือนมีตัว “ ต” สะกด  มีตัวสะกดที่ไม่ตรงมาตราทั้งหมด ๒๕ ตัว คือ  จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ต ถ ท ธ ศ ษ ส ฒิ ติ ธิ ตุ ชร ตร ทร รถ ( ตัว ฉ และ ฌ  เป็นตัวสะกดที่ไม่มีใช้เป็นสามัญ ) เช่น  กรวด ตำรวจ ราชการ กฎหมาย รัฐบาล ครุฑ พัฒนา อนุญาต รถ มารยาท วันพุธ ประเทศ ทำโทษ ศาสนา เป็นต้น

แม่ กบ  คือ พยางค์ที่ออกเสียงเหมือนมีตัว “ บ” สะกด มีตัวสะกดที่ไม่ตรงมาตราทั้งหมด ๔ ตัว คือ ป พ ฟ ภ  เช่น กราบไหว้ รูปร่าง เคารพ ยีราฟ โชคลาภ เป็นต้น

แม่ กน  คือพยางค์ที่ออกเสียงเหมือนมีตัว “น” สะกด  ตัวสะกดที่ไม่ตรงมาตามมีทั้งหมด ๕ ตัว คือ ญ ณ ร ล ฬ เช่น เรียน บำเพ็ญ ปัญญา ขอบคุณ ทหาร อาการ ผลไม้ พยาบาล ฟุตบอล ปลาวาฬ  ข้าวสาร เป็นต้น

แม่ กก  คือพยางค์ที่ออกเสียงเหมือนมีตัว “ ก” สะกด มีตัวสะกดที่ไม่ตรงมาตราทั้งหมด  ๕ ตัว คือ ข  ค  ฆ  กร  คร  เวลาอ่านจะออกเสียงเหมือนมี “ก” สะกด  เช่น สุขภาพ ประโยค บริจาค มรรค สมัคร  จักร  เมฆ  วิหค  โรค  พญานาค   อบายมุข  โทรเลข

By admin

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *