คำซ้อน คำซ้ำ คืออะไร พร้อมตัวอย่าง

คำซ้อน คือ  คำที่เกิดจากการเอาคำมูลที่มีความหมายเหมือนกัน  หรือคล้ายคลึงกัน  เป็นคำประเภทเดียวกัน  ตั้งแต่  ๒  คำขึ้นไป  มาเรียงซ้อนกันเพื่อให้ได้ความหมายชัดเจนขึ้น  เช่น  เสื่อสาด  อ้วนพี  ใหญ่โต  คำซ้อนนี้บางทีเรียกว่า คำไวพจน์ผสม (synonymous  compound)

สาเหตุการเกิดและประโยชน์ของ คำซ้อน

๑.  คำไทย  คำเดียวนั้นอาจมีความหมายได้หลายอย่าง  หากพูดเพียงคำเดียวอาจทำให้เข้าใจความหมายผิดพลาดไป  จึงต้องซ้อนคำเพื่อบอกความหมายให้ชัดเจน  เช่น

ตา  (อวัยวะ)              ใช้ซ้อนกับ   นัยน์                       เป็น    นัยน์ตา

ขับ (ไล่)                     ใช้ซ้อนกับ  ไล่                           เป็น   ขับไล่

ขับ (ร้องเพลง)          ใช้ซ้อนกับ   กล่อม                     เป็น    ขับกล่อม

ขัด (ทำให้สะอาด)     ใช้ซ้อนกับ   ถู                             เป็น   ขัดถู

ขัด  (ไม่สะดวก)        ใช้ซ้อนกับ   ขวาง                      เป็น    ขัดขวาง

๒.  คำไทยมีพ้องเสียงมาก  ถ้าพูดเพียงคำเดียวก็ยากที่จะเข้าใจความหมายได้  จึงต้องใช้คำที่มีความหมายเหมือนกัน  หรือคล้ายคลึงเป็นประเภทเดียวกันมาซ้อนไว้  เพื่อบอกความหมายให้ชัดเจน  เช่น

ค่า                              ใช้ซ้อนกับ  งวด                         เป็น    ค่างวด

ฆ่า                              ใช้ซ้อนกับ  ฟัน                         เป็น    ฆ่าฟัน

ข้า                              ใช้ซ้อนกับ  ทาส                         เป็น    ข้าทาส

มั่น                             ใช้ซ้อนกับ  คง                            เป็น    มั่นคง

หมั้น                          ใช้ซ้อนกับ  หมาย                        เป็น    หมั้นหมาย

๓.  ภาษาไทยเป็นภาษามีวรรณยุกต์  คำไทยที่มีสระและพยัญชนะเดียวกัน  มีเสียงวรรณยุกต์ต่างกันเพียงเล็กน้อย  ความหมายของคำก็จะแตกต่างกันไปด้วย  ถ้าฟังผิดเพี้ยนไป  หรือฟังไม่ถนัด  ก็จะทำให้เข้าใจความหมายผิดพลาดได้  ดังนั้น  จึงต้องมีการซ้อนคำขึ้น  เพื่อกำกับความหมายให้ชัดเจน  เช่น

เสือ                          ใช้ซ้อนกับ  สาง                           เป็น  เสือสาง

เสื่อ                          ใช้ซ้อนกับ  สาด                           เป็น  เสื่อสาด

เสื้อ                          ใช้ซ้อนกับ  ผ้า ง                           เป็น  เสื้อผ้า

ถ้อย                          ใช้ซ้อนกับ  คำ                             เป็น  ถ้อยคำ

ค่ำ                             ใช้ซ้อนกับ  คืน                            เป็น   ค่ำคืน

๔.  คำไทยส่วนมากเป็นคำพยางค์เดียว  เวลาพูดอาจฟังไม่ทัน   หรือฟังไม่ถนัด  ก็จะทำให้เข้าใจความหมายผิดพลาดได้  เราจึงซ้อนคำเพื่อบอกความหมายได้ชัดเจน  เช่น

ปัด                          ใช้ซ้อนกับ  กวาด                           เป็น  ปัดกวาด

ขัด                           ใช้ซ้อนกับ  ขวาง                           เป็น  ขัดขวาง

เช็ค                           ใช้ซ้อนกับ  ถู                                เป็น  เช็ดถู

อบ                            ใช้ซ้อนกับ  รม                             เป็น  อบรม

คับ                             ใช้ซ้อนกับ  แค                            เป็น   คับแคบ

อนึ่ง  บางครั้งเรานำภาษาถิ่นมาซ้อนไว้  และภาษาถิ่นบางคำเริ่มเลือนหายไปจนเข้าใจไปว่า  คำที่เอามาซ้อนนั้นเป็นอุทานสร้อยบท  เพราะไม่เข้าความหมายทั้ง ๆ  ที่ภาษาถิ่นนั้นยังเป็นภาษาที่มีใช้อยู่  เช่น

เปื้อน                         ใช้ซ้อนกับ     แปด  (ถิ่นอีสานหมายถึงเปื้อน   เป็น  แปดเปื้อน

คอย                            ใช้ซ้อนกับ   ท่า   (ถิ่นใต้หมายถึงคอย)            เป็นคอยท่า

๕.  ภาษาไทยเรามีคำที่มาจากภาษาต่างประเทศปะปนอยู่มาก  เช่น  คำบาลีสันสกฤต  ภาษาเขมร  เป็นต้น  ระยะแรก  ๆ  ก็ยังไม่เป็นทีเข้าใจความหมายของคำกันอย่างแพร่หลาย  จึงต้องนำคำไทยที่มีความหมายเหมือนกัน  หรือคล้ายคลึงเป็นประเภทเดียวกันมาเรียงซ้อนไว้เพื่อขยายความหมายให้ชัดเจน  เช่น

ทรัพย์                      ใช้ซ้อนกับ  สิน                             เป็น  ทรัพย์สิน

ซาก                          ใช้ซ้อนกับ  ศพ                            เป็น  ซากศพ

เขียว                          ใช้ซ้อนกับ  ขจี                            เป็น  เขียวขจี

รูป                             ใช้ซ้อนกับ  ร่าง                           เป็น  รูปร่าง

ลักษณะของคำซ้อนในภาษาไทย

คำซ้อนในระยะแรก ๆ  คงเป็นเพียงคำไทยซ้อนกับคำไทย  ซึ่งอาจเป็นคำไทยกลางซ้อนกับคำไทยกลาง หรือคำไทยกลางซ้อนกับคำไทยถิ่น  ต่อมาเมื่อเรารับคำภาษาต่างประเทศมาใช้  เราก็ใช้คำไทยซ้อนกับคำต่างประเทศ  โดยใช้คำไทยเรียงไว้ข้างหน้าบ้าน ข้างหลังบ้าน หรือใช้คำต่างประเทศซ้อนกันเองก็มี ดังนั้น  คำซ้อนจึงมีหลายลักษณะ  ดังนี้

๑.  คำไทยกลางซ้อนกับคำไทยกลาง   เช่น

หัวหู                  แข้งขวา                        เก้อเขิน                   แก้ไข

ใหญ่โต             หน้าตา                          บ้านเรือน                ดินฟ้า

เป็ดไก่              โต้แย้ง                           ทักท้วง                   ชุกชุม

๒.  คำไทยกลางซ้อนกับคำไทยถิ่น  เช่น

พัดวี           –            วี              ภาษาถิ่นใต้                หมายถึง       พัด

เสื่อสาด      –            สาด         ภาษาถิ่นใต้                หมายถึง       เสื่อ

อ้วนพี         –            พี             ภาษาถิ่นใต้                หมายถึง       อ้วน

เข็ดหลาบ   –            หลาบ       ภาษาถิ่นใต้                หมายถึง       เข็ด

เติบโต         –            เติบ           ภาษาถิ่นใต้                หมายถึง       โต

อิดโรย         –            อิด         ภาษาถิ่นเหนือ               หมายถึง       เหนื่อย

ละทิ้ง           –            ละ            ภาษาถิ่นเหนือ           หมายถึง       ทิ้ง

เก็บหอม       –           หอม         ภาษาถิ่นอีสาน           หมายถึง       ออม

บาดแผล      –           บาด          ภาษาถิ่นอีสาน            หมายถึง       แผล

ยุ่งยาก           –            ละ            ภาษาถิ่นอีสาน           หมายถึง       ยุ่ง

มากหลาย      –           หลาย        ภาษาถิ่นอีสาน           หมายถึง       มาก

๓.  คำไทยกลางซ้อนกับคำต่างประเทศ  เช่น

ข้าทาส          –            ทาส          ภาษาบาลี  –  สันสกฤต

จิตใจ            –             จิต            ภาษาบาลี

ทรัพย์สิน    –             ทรัพย์        ภาษาสันสกฤต

โง่เขลา        –            เขลา           ภาษาเขมร

แบบแปลน –            แปลน        ภาษาอังกฤษ  – plan

๔.  คำต่างประเทศซ้อนกับคำต่างประเทศ   เช่น

สรงสนาน            –              สรง                              ภาษาเขมร

สนาม                           ภาษาสันสกฤต

ทรัพย์สมบัติ        –               ทรัพย์                           ภาษาสันสกฤต

สมบัติ                           ภาษาบาลี

เหตุการณ์           –               เหตุ,  การณ์                   ภาษาบาลี

รูปทรง               –                รูป                                ภาษาบาลี

ทรง                              ภาษาเขมร

อิทธิฤทธิ์            –                อิทธิ                             ภาษาบาลี

ฤทธิ์                             ภาษาสันสกฤต

เลอเลิศ               –                เลอ,  เลิศ                      ภาษาเขมร

เฉลิมฉลอง         –                เฉลิม,  ฉลอง                ภาษาเขมร

 

๕. คำซ้อนที่ซ้อนทับกัน   ๒   คู่  จะปรากฏในลักษณะดังนี้

ก.  มีสัมผัสที่คู่กลาง   เช่น

อุปถัมภ์ค้ำชู          ล้มหายตายจาก       ไฟไหม้ไต้ลน             ยากเย็นเข็ญใจ

เจ็บไข้ได้ป่วย        ยิ้มแย้มแจ่มใส        เจ็บท้องข้องใจ           ซื้อง่ายขายคล่อง

วัดวาอาราม           ถ้วยโถโอชาม         บ้านช่องห้องหอ         เลี้ยงดูปูเสื่อ

เก็บหอมรอมริบ     ลูกท่านหลานเธอ   เจ้าขุนมูลนาย              ติดสอยห้อยตาม

จับมือถือแขน        แลบลิ้นปลิ้นตา       ว่านอนสอนง่าย          กำเริบเสิบสาน

กินเหล้าเมายา        ขี้หดตดหาย              ขนมนมเนย               ปู่ย่าตายาย

ข.  มีพยางค์นำหน้าซ้ำกัน   เช่น

ปากเปียกปากแฉะ     ชั่วครู่ชั่วยาม         ถึงพริกถึงขิง              อาบน้ำอาบท่า

กินข้าวกินปลา          น้ำหูน้ำตา             เป็นฟืนเป็นไฟ          ผีเข้าผีออก

คุ้มดีคุ้มร้าย               มีชื่อมีเสียง             มิดีมิร้าย                   พอดีพอร้าย

ความคิดความอ่าน    หนักอกหนักใจ      ไม่มากไม่น้อย         ไม่ได้ไม่เสีย

 

ลักษณะของคำซ้อน         ดังกล่าวที่มานี้  จะสังเกตเห็นว่า

๑.  ถ้าคำหน้ามีพยางค์เดียว  คำที่นำมาซ้อนจะใช้คำพยางค์เดียว  ถ้าคำหน้า  ๒  พยางค์  คำที่นำมาซ้อนจะใช้คำ   ๒  พยางค์ด้วย  ทั้งนี้เพื่อการถ่วงดุลทางเสียง

๒.  คำที่นำมาซ้อนกันมักเป็นคำประเภทเดียวกันทั้งนั้น  เพราะช่วยขยายความหมายให้ชัดเจนขึ้นตาม

ตัวอย่าง

คำนาม – คำนาม            เช่น     แข้งขา    ม้าลา           บ้านเรือน         เรือดไร

คำกริยา –  คำกริยา          เช่น     ดูดดื่ม     เหลียวแล    ร้องรำ               กดขี่

คำวิเศษณ์ – คำวิเศษณ์    เช่น    ข่มขื่น     ซื่อตรง         ใหญ่โต            เร็วไว

ลักษณะของความหมายที่เกิดจากคำซ้อน

เมื่อนำคำมาซ้อนกันแล้ว  จะเกิดความหมายขึ้นในลักษณะต่าง ๆ  ดังนี้

๑.   ความหมายคงเดิม   คือ   ความหมายก็ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง  เช่น  ซากศพ  อ้วนพี       โต้แย้ง  สูญหาย

๒.  ความหมายกว้างออก  คือ  ความหมายจะกว้างกว่าความหมายในคำเดิม  เช่น

ตับไตไส้พุง       หมายถึง   อวัยวะภายในอะไรก็ได้  ไม่ได้หมายเฉพาะอวัยวะ  ๔   อย่างนี้เท่านั้น

ไฟไหม้ไต้ลน     หมายถึง  ร้อนอกร้อนใจ

หมูเห็ดเป็ดไก่     หมายถึง   อาหารหลายชนิด

ถ้วยโถโอชาม     หมายถึง    ภาชนะที่ใช้ในครัว

ปู่ย่าตายาย           หมายถึง      บรรพบุรุษ

ขนมนมเนย         หมายถึง      อาหารประเภทของหวาน

๓.   ความหมายย้ายที่    คือ  ความหมายจะเป็นอย่างอื่นซึ่งไม่ตรงกับความหมายของคำเดิม  เช่น

ข่มขื่น                หมายถึง       ความรู้สึกเป็นทุกข์  มิได้หมายถึงรสขม และขื่น

เหลียวแล           หมายถึง       การเอาใจใส่เป็นธุระ

เดือดร้อน           หมายถึง       ความลำบากใจ

เบิกบาน             หมายถึง       ความรู้สึกร่าเริงแจ่มใส

ดูดดื่ม                 หมายถึง       ความซาบซึ้ง

๔.  ความหมายอยู่ที่คำหน้า  เช่น

เป็นลมเป็นแล้ง          ขันหมากรากพลู            ใต้ถุนรุนช่อง

อายุอานาม                  ความคิดความอ่าน         มีชื่อมีเสียง

ใจคอ (ไม่ค่อยจะดี)     หัวหู  (ยุ่งเหยิง)              มิดีมิร้าย

 

๕.  ความหมายอยู่ที่คำหลัง  เช่น

เสียอกเสียใจ               ดีอกดีใจ                         ว่านอนสอนง่าย

ตั้งเนื้อตั้งตัว                เครื่องไม่เครื่องมือ          หูตา  (มืดมัว)

๖.  ความหมายอยู่ที่คำต้น และคำท้าย เช่น

ผลหมากรากไม้           อดตาหลับขับตานอน        ตกไร้ได้ยาก

ติดสอยห้อยตาม           เคราะห์หามยามร้าย          ชอบมาพากล

๗.  ได้ความหมายทั้งสองคำ   เช่น

ดินฟ้าอากาศ                เอวบางร่างน้อย                 ยศถาบรรดาศักดิ์

อำนาจวาสนา              บุญญาบารมี                       ปู่ย่าตายาย

๘.  ความหมายของคำคู่หน้ากับคู่หลังตรงกันข้าม  เช่น

หน้าไหว้หลังหลอก     ปากหว่านก้นเปรี้ยว          หน้าเนื้อใจเสือ

หน้าชื่นอกตรม             ปากปราศรัยน้ำใจเชือดคอ  ไม่มากไม่น้อย

๑.     คำ ๆ  เดียวกัน  เมื่อนำคำต่างกันมาซ้อน  จะทำให้ได้ความหมายต่าง  ๆ  กันออกไป เช่น

แน่น      –       แน่นหนา   แน่นแฟ้น

กีด         –       กีดกัน    กีดขวาง

หลอก    –      หลอกลวง   หลอกล่อ    หลอกหลอน

คม         –      คมคาย   คมขำ   คมสัน

แอบ        –       แอบแง     แอบอ้าง     แอบแฝง

ขัด       –       ขัดสน   ขัดข้อง      ขัดขืน    ขัดขวาง   ขัดยอก

มีคำซ้อนอยู่อีกชนิดหนึ่งที่เกิดจากการเอาคำมาซ้อนกัน  เพื่อประโยชน์ทางการออกเสียงคำที่นำมาซ้อนกันนั้นจะเป็นคำที่มีความหมายหรือไม่มีความหมายก็ได้  โดยมากจะเป็นคำที่มีพยัญชนะต้น และตัวสะกดตัวเดียวกัน  แต่ใช้เสียงสระต่างกัน  สระที่ต่างกันนี้จะเป็นสระที่ออกเสียงกคู่กันได้สะดวก  เช่น  งอแง  อีกอัก   โซเซ   เป็นต้น   คำซ้อนดังกล่าวนี้เราเรียกว่า   “คำซ้อนเพื่อเสียง”

ลักษณะของคำซ้อนเพื่อเสียง

คำซ้อนเพื่อเสียงหลายลักษณะดังนี้

๑.  คำที่ซ้อนกันเพื่อไม่ให้เสียงคอนกัน  ซึ่งได้แก่ลักษณะดังต่อไปนี้

ก.  คำ   ๒  คำ  ที่ซ้อนกัน  คำแรกมีพยางค์มากกว่าคำหลัง  ทำให้เสียงคอนกัน  จึงเอาพยางค์แรกนของคำหน้ามาเติมลงหน้าคำที่มีพยางค์น้อยกว่า  เพื่อถ่วงดุลทางเสียงให้เท่ากัน  ทำให้ออกเสียงได้สะดวก  และรื่นหูขึ้น   เช่น

ขโมยโจร       เป็น          ขโมยขโจร           จมูกปาก          เป็น           จมูกจปาก

โกหกไหว้     เป็น           โกหกโกไหว้        สะกิดเกา        เป็น            สะกิดสะเกา

พยศเกียรติ     เป็น          พยศเกียรติ

ข.  คำ   ๒  คำ   ที่ซ้อนกัน  โดยเฉพาะคำหน้าที่มีตัวสะกดในแม่  กน  เราออกเสียงตัวสะกดของคำหน้าเหมือนคำสมาสไป  เช่น  ดุกดิก  เป็นดุกกะดิก  ซึ่งทำให้เสียงคอนกัน  จึงเติมพยางค์   กะ  หรือ   กระ  ลงข้างหน้าคำ  เพื่อถ่วงดุลทางเสียงให้เท่ากัน   ทำให้ออกเสียงได้สะดวก  เช่น

 

ดุกดิก         ออกเสียงเป็น   ดุกกะดิก        เป็น       กระดุกกระดิก

โดกเดก     ออกเสียงเป็น   โดกกะเดก      เป็น       กระโดกกระเดก

จุกจิก         ออกเสียงเป็น   จุกกะจิก        เป็น       กระจุกกระจิก

เสือกสน     ออกเสียงเป็น   เสือกกะสน    เป็น       กระเสือกกระสน

โตกตาก     ออกเสียงเป็น   โตกกะตาก     เป็น       กระโตกกระตาก

ปลกเปลี้ย   ออกเสียงเป็น    ปลกกะเปลี้ย  เป็น       กระปรกกระเปลี้ย

 

ค.  คำ   ๒  คำ  ที่ซ้อนกัน  คำหน้าไม่มีตัวสะกดในแม่   กก   แต่เราเติมเสียง  กะ  หรือ  กระ  ลงหน้าคำหน้า และหน้าคำหลัง  เพื่อให้ออกเสียงได้สะดวกและรูปคำสละสลวยขึ้น  เช่น

รุ่งริ่ง              เป็น             กะรุ่งกะริ่ง               เล่อล่า         เป็น      กะเล่อกะล่า

ชุ่มชวย          เป็น              กระชุ่มกระชวย      จุ๋มจิ๋ม          เป็น       กระจุ๋มกระจิ๋ม

ฉับเฉง          เป็น              กระฉับกระเฉง

๒.  คำซ้อนเพื่อเสียงที่เกิดขึ้นเพราะการยืดเสียงจากพยางค์เดียวออกเป็น  ๒  พยางค์  คำหลังนี้เกิดขึ้นในพยัญชนะตัวเดียวกับคำหน้า   ส่วนสระจะเป็นสระอะไรก็ได้แล้วแต่เสียงจะหลุดปากออกไป  คำหลังนี้อาจจะมีความหมายอยู่ในภาษาถิ่น  หรือไม่มีความหมายเลยก็ได้   เช่น

พูด           เป็น                   พูดเพิด

แว่น         เป็น                    แว่นเวิ่น

กิน          เป็น                    กินแก็น

ซื้อ          เป็น                   ซื้อเซ้อ  (เซ้อ –  ภาษาถิ่นใต้  หมายถึง  ซื้อ)

กวาด        เป็น                  กวาดแกวด   (แกวด  –  ภาษาถิ่นไทยขาว  หมายถึง  กวาด)

๓.  คำที่ซ้อนเพื่อเสียงที่เกิดจากสระออกเสียงคู่กัน  เพราะใช้สระในระดับของลิ้นหรือส่วนของลิ้นเดียวกัน  ทำให้ได้คำคู่  ๒  พยางค์  ที่ออกเสียงได้สะดวกรื่นหูและรูปคำสละสลวยขึ้น

บางครั้งจะพบคำซ้อนเพื่อเสียงสระต่างส่วนต่างระดับของลิ้นกันก็มี  เช่น  กรีดกราย  เป็นต้น

ลักษณะความหมายของคำซ้อนเพื่อเสียง

๑.  คำซ้อนเพื่อเสียงที่มีความหมายทั้งสองคำ  เช่น  โซเซ   คู่คี่   นุ่มนิ่ม

๒.  คำซ้อนเพื่อเสียงที่มีความหมายอยู่ที่คำใดคำหนึ่งเพียงคำเดียว  เช่น  ท้อแท้  เพลิดเพลิน

กินแก็น

๓.  คำซ้อนเพื่อเสียงที่มีความหมายร่วมกัน  ถ้าแยกคำจะไม่มีความหมายทั้ง  ๒  คำ  เช่น

หลุกหลิก   จุ๋มจิ๋ม    หยุมหยิม

คำซ้ำ

คำซ้ำ  คือ  คำที่เกิดจากการซ้ำเสียงคำเดียวกันตั้งแต่  ๒  หน  ขึ้นไป   เพื่อทำให้เกิดคำใหม่ได้ความหมายใหม่  เช่น  ดำ ๆ  หวาน ๆ  คอยค้อยคอย

ชนิดของคำไทยที่เอามาซ้ำกัน  ในภาษาไทยเราสามารถเอาคำทุกชนิดมาซ้ำได้  ดังนี้

๑.  ซ้ำคำนาม               เช่น   พี่ ๆ   น้อง  ๆ  เด็ก ๆ

๒.  ซ้ำคำสรรพนาม    เช่น   เขา ๆ  เรา ๆ  คุณ  ๆ

๓.  ซ้ำคำวิเศษณ์          เช่น   เร็ว ๆ  ไว  ๆ  ช้า  ๆ

๔.  ซ้ำคำกริยา             เช่น    นั่ง  ๆ  นอน  ๆ  เดิน  ๆ

๕.  ซ้ำคำบุรพบท        เช่น  ใกล้  ๆ  ไกล  ๆ  เหนือ ๆ

๖.  ซ้ำคำสันธาน         เช่น  ทั้ง  ๆ  ที่  เหมือน  ๆ  ราว  ๆ   กับ

๗.  ซ้ำคำอุทาน           เช่น  โฮ ๆ  กรี๊ด  ๆ   อุ๊ย  ๆ

ชนิดของการซ้ำคำในภาษาไทย

๑.  ซ้ำคำเดียวกัน  ๒  หน  ระดับเสียงวรรณยุกต์คงเดิม  เช่น  เร็ว  ๆ  หนุ่ม ๆ  หนัก ๆ

เบา  ๆ

๒.  ซ้ำคำเดียวกัน  ๒  หน   โดยเน้นระดับเสียงวรรณยุกต์ที่คำหน้า  เช่น  ว้าน  หวาน  นัก

หนัก  จ๊นจน  อร้อยอร่อย

๓.  ซ้ำคำเดียวกัน  ๓  หน  โดยเน้นระดับเสียงวรรณยุกต์ที่พยางค์หลังของคำหน้า  จืดจื๊ด

จืด  สวยซ้วยสวย

๔.  ซ้ำคำประสม  ๒  พยางค์  ๒  หน  โดยเน้นระดับเสียงวรรณยุกต์ที่พยางค์หลังของคำ

หน้า  เช่น  เจ็บใจ๊เจ็บใจ   ดีใจ๊ดีใจ   ยินดี๊ยินดี

๕.  ซ้ำคำเดียวกัน  ๒  หน  ระดับเสียงวรรณยุกต์คงเดิมแต่การกร่อนเสียงขึ้นอย่างที่บาลี

เรียกว่า  อัพภาส  และสันสกฤต  เรียกว่า  อัภยภาส  เช่น  ลิ่ว ๆ  เป็นละลิ่ว  ครืน ๆ

เป็น  คระครืน  ซึ่งโดยมากใช้คำประพันธ์

ลักษณะความหมายนของคำซ้ำ

๑.  บอกความหมายเป็นพหูพจน์  มักเป็นคำนาม และสรรพนาม เช่น

เด็ก  ๆ  กำลังร้องเพลง     พี่  ๆ  โรงเรียน    หนุ่ม ๆ  กำลังเล่นฟุตบอล

๒.  บอกความหมายเป็นเอกพจน์   แยกจำนวนออกเป็นส่วน ๆ  มักเป็นคำลักษณนาม เช่น

ล้างชามให้สะอาดเป็นใบ ๆ        อ่านหนังสือเป็นเรื่อง  ๆ      ไสกบไม้เป็นแผ่น  ๆ

๓.  เน้นความหมายของคำเดิม  มักเป็นคำวิเศษณ์  เช่น

พูดดัง  ๆ                            ฟังดี  ๆ                        นั่งนิ่ง  ๆ

ถ้าต้องการเน้นให้เป็นจริงเป็นจังอย่างมั่นใจมากขึ้น  เราก็เน้นระดับเสียง วรรณยุกต์ที่

คำหน้า  เช่น

เสียงดั๊งดัง                          พูดดี๊ดี                 ตัวด๊ำดำ

๔.  ลดความหมายของคำเดิม  มักเป็นคำวิเศษณ์บอกสี  เช่น

เสื้อสีแดง  ๆ              กางเกงสีดำ  ๆ              บ้านสีขาว  ๆ

๕.  บอกความหมายโดยประมาณทั้งที่เกี่ยวกับเวลา และสถานที่  ดังนี้

ก.  บอกเวลาโดยประมาณ    เช่น   สมศรีชอบเดินเล่นเวลาเย็น ๆ

เขาตื่นเช้า ๆ  เสมอ

น้ำค้างจะลงหนักเวลาดึก ๆ

ข.  บอกสถานที่โดยประมาณ  เช่น  มีร้านหนังสือแถว ๆ  สี่แยก

รถคว่ำกลาง ๆ  สะพาน

ต้นประดู่ใหญ่อยู่ใกล้ ๆ  โรงเรียน

๖.  บอกความหมายสลับกับ  เช่น           เขาเดินเข้า  ๆ  ออก  ๆ  อยู่ตั้งนานแล้ว

ฉันหลับ ๆ  ตื่น  ๆ  ตลอดคืน

๗.  บอกความหมายเป็นสำนวน เช่น      งู  ๆ   ปลา ๆ  (ไม่รู้จริง,  รู้นิดหน่อย)

ดี ๆ  ชั่ว  ๆ  (ดีร้าย)

ไป ๆ  มา  ๆ   (ในที่สุด)

ถู  ๆ  ไถ   ๆ  (แก้ข้อขัดข้องพอให้ลุล่วงไปได้)

๘.  บอกความหมายแสดงการเปรียบเทียบขั้นปกติ  ขั้นกว่า  และขั้นสุด  เช่น

ขั้นปกติ                     ขั้นกว่า                         ขั้นสุด

เชย ๆ                        เชย                              เช้ยเชย

หลวม ๆ                  หลวม                          ล้วมหลวม

เบา  ๆ                      เบา                               เบ๊าเบา

การสร้างคำแบบคำประสม  คำซ้อนและคำซ้ำ  นี่เป็นวิธีการสร้างคำที่เป็นระเบียบวิธีของภาษาไทยของเราเอง   แต่การสร้างคำใหม่ในภาษาไทยไม่ได้เพียง  ๔   วิธีเท่านั้น  เรายังมีวิธีการสร้างคำใหม่  ๆ  ขึ้นใช้ในภาษาไทยด้วยวิธีการอื่น  ๆ  อีก

(คัดจากหนังสือหลักภาษาและการใช้ภาษา  ประสิทธิ์  กาพย์กลอนและคณะ  สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช  พ.ศ.๒๕๒๓)

By admin

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *