คำไทยที่มาจากภาษามอญนำมาใช้ในภาษาไทยในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
๑. ใช้เป็นคำธรรมดาในเรื่องต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันทั่วไป
๒. ใช้เป็นคำซ้อน คำประสม และคำขยายในภาษาไทย
๓. ใช้ในราชาศัพท์ สำนวน และในวรรณกรรมไทย
ตัวอย่างคำมอญ
๑. ใช้เป็นคำธรรมดาในเรื่องต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันทั่วไป สามารถแบ่งหมวดหมู่ได้ดังนี้
๑.๑ ภูมิประเทศ เช่น เกาะ คลอง ด่วน ด่าน วัง หาด อ่าว
๑.๒ บ้านเมือง เช่น ซอก ตรอก ร้าน โรง สะพาน
๑.๓ บ้านเรือน เช่น กระท่อม หน้าต่าง
๑.๔ ครอบครัว – ญาติ เช่น แม่ ม่าย สะใภ้ ยาย ย่า
๑.๕ ร่างกาย เช่น เท้า ขา พุง
๑.๖ โรค เช่น ป้าง (ไข้) แผล ขี้ทูด จาม
๑.๗ ยานพาหนะ – เครื่องผ่อนแรง เช่น เวียน กำปั่น สำปั้น (เรือ) รอก
๑.๘ เครื่องดนตรี เช่น จระเข้ เปิงมาง โหม่ง ฉาบ
๑.๙ ของมีค่า เช่น ทอง พลอย
๑.๑๐ อาวุธ เช่น ดั้ง ทวน แสง
๑.๑๑ อาหาร เช่น ขนมจีน ขนมต้ม บัวลอย ข้าวหลาม
๑.๑๒ อุปกรณ์และเครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น กระทะ กรรไกร โคม ชิงช้า
๑.๑๓ ความเชื่อ เช่น คนทรง พลาย
๑.๑๔ การลงโทษ เช่น คุก ตะราง จองจำ
๑.๑๕ สัตว์ต่าง ๆ เช่น กระต่าย ค่าง จักจั่น จิ้งหรีด ตะกวด ตุ่น
และ ไร ลา อ้น
๑.๑๖ นกและสัตว์ปีก เช่น กระเรียน กระทุง กาเหว่า ทึดทือ พิราบ
ห่าน
๑.๑๗ ปลา เช่น ปลากะดี่ ปลากะตัก ปลากะพง
๑.๑๘ พืชผักและผลไม้ เช่น กะเจี๊ยบ กะวาน กลอย พลู ตะโก บุก
ฝิ่น มะนาว หว้า
๑.๑๙ ผลไม้ เช่น ทุเรียน มะกอก มะกรูด มะขวิด มะนาว
มังคุด สมอ
๒. ใช้เป็นคำซ้อน และคำประสม ในภาษาไทย ดังนี้
คำซ้อน
แก่เฒ่า ( เฒ่า = แก่)
ตรอกซอก (ซอก = ทางเดิน)
ผุยผง (ผง = ผงละเอียด)
ฝาละมี (ละมี = ฝาปิดหม้อดิน)
บาดแผล (แผล มาจาก “อะปังแปล” แผล)
เรื่องราว (ราว = เรื่อง)
ร้อนระอุ (อุ = ร้อน)
หุงต้ม (ต้ม = ต้ม)
เหวอะหวะ (หวะ = แตกหัก)
คำประสม
ดินสอพอง (พอง = ผง)
ถึงคราว (ครา = เวลา อายุ)
แมลงปอ (ปอ = บิน)
แม่ครัว (ครัว = ผู้ปรุงอาหาร)
๓. ใช้ในราศัพท์ สำนวน และในวรรณคดีไทย
ราชาศัพท์
ตำหนัก พระแสง วัง หมอบ ท้าว พญา
ติเรือทั้งโกลน (โกลน = ทำ)
ตายทั้งกลม (กลม = มดลูก)
คลับคล้ายคลับคลา (คลา = กาลก่อน)
วรรณคดีไทย เช่น
ชุนช้างขุนแผน
“จักจั่นเจื้อยร้องริมลองใน เสียงเรไรหริ่งหริ่งที่กิ่งรัง
“เหล็กขนันผีพรายตายทั้งกลม เหล็กตรึงโลดตรึงปั้นสมสลักเพชร” ลิลิตนิทราชาคริต
“หลัดหลัดมาพัดแคล้ว เคลื่อนพ้นกันไป”
“อัวดัดผู้เมียมันแหละหม้าย” (วัฒนา บรุกสิกร, ๒๕๔๑)